นางจิรยา ธนยศธราธร
ผู้อำนวยการ
โรงเรียนวัดรางเสน่ห์นครจันทร์
ประวัติโรงเรียนวัดรางเสน่ห์นครจันทร์โดยย่อ
โรงเรียนวัดรางเสน่ห์นครจันทร์ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 โดยประชาชนในชุมชนได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียนและมอบให้แก่ทางราชการ เป็นอาคารแบบ ป1 ก(อาคารกึ่งถาวร) สิ้นงบประมาณค่าก่อสร้างประมาณ 1,000,000บาท (หนึ่งแสนบาท) ในพื้นที่ในการดูแลประมาณ 5 ไร่ 2งาน และเปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2518 ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4
ปี พ.ศ.2530 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี สร้างอาคารเรียนแบบ ป1ก ขนาด 4 ห้องเรียน และทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-7
ปี พ.ศ. 2532 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียนหลังแรกเป็นจำนวนเงิน 150,000 บาท
โดยจัดทำฝ้าเพดานและก่อผนังอิฐฉาบปูน
ปีงบประมาณ 2533 โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา 2536 เริ่มเปิดทำการสอนชั้นอนุบาล 1 และ 2 และทำการก่อสร้างอาคารเรียนแบบเขียนเอง 1 หลัง ขนาด 6x 12 เมตร โดยเงินบริจาคจำนวน 120,000 บาท และได้รับงบประมาณสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ผ.30 พิเศษ จำนวน 1ชุด งบประมาณ 70,000 บาท (รวมรางน้ำฝน 20 เมตร)
ปีงบประมาณ 2542 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียนหลังแรก 430,000 บาทเศษ
ปัจจุบันโรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวม 8 ห้องเรียน
วิสัยทัศน์ของ โรงเรียนวัดรางเสน่ห์นครจันทร์
นักเรียนโรงเรียนวัดรางเสน่ห์นครจันทร์เป็นผู้รักการเรียนรู้ มีจิตสำนึกในความเป็นไทย และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ ของ โรงเรียนวัดรางเสน่ห์นครจันทร์
1. จัดการศึกษาระดับปฐมวัยหลักสูตร 2 ปีเพื่อให้เด็กวัยก่อนเรียนมีความพร้อมในการเข้าเรียนระดับประถมศึกษา
2. จัดการศึกษาระดับประถมศึกษาให้แก่เด็กตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
3. ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตร จัดระบบการเรียนรู้ในทุกสาระให้มีความหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ นำความรู้บูรณาการเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้
4. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่งและมีความสุขโดยดำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. ส่งเสริมสุนทรียภาพทางด้านดนตรี กีฬา ศิลปะและนันทนาการ
6. ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่มาตรฐานวิชาชีพครู
7. ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สอดคล้องเหมาะสมโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
8. เปิดโอกาสให้ชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรของรัฐ และเอกชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน สถานศึกษา เพื่อเข้าสู่ระบบประกันคุณภาพการศึกษา
เอกลักษณ์-อัตลักษณ์
อัตลักษณ์
“ สุภาพ เป็นมิตร มีจิตอาสา”
เอกลักษณ์
“สถานศึกษา แห่งความพอเพียง”
กลยุทธ์ของ โรงเรียนวัดรางเสน่ห์นครจันทร์
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียน
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนากระบวนการบริหารและจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพ
สีประจำโรงเรียน
ส้ม- ชมพู
สีส้ม หมายถึง ความสดใส ความกระตือรือร้น ความตั้งใจ ความสำเร็จ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
สีชมพู หมายถึง ความรักใคร่กลมเกลียว มิตรภาพ ความละเอียดอ่อน ความหยั่งรู้ความก้าวหน้า ความสง่างาม อำนาจ
ต้นไม้ประจำโรงเรียน
ต้นโพธิ์ หมายถึง ความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน
กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2563
สภานักเรียนโรงเรียนวัดรางเสน่ห์นครจันทร์ สังกัด สพป.ราชบุรี เขต 1
กิจกรรมโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมสุขภาพ
การประชุม ประชุมเตรียมความพร้อมจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV
จัดการตอนรับ ผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1
เรื่อง วิชาประวัติศาสตร์
14 พฤศจิกายน 2563
เคยสงสัยกันไหมว่าคนไทยมาจากไหน จุดเริ่มต้นของสุโขทัยเกิดขึ้นอย่างไร ทำไมกรุงศรีอยุธยาถึงเข้ามาครอบครองสุโขทัย อะไรเป็นสาเหตุให้ ให้อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง อาณาจักรล้านนาเกี่ยวข้องอะไรกับสุโขทัย อาณาจักรสุโขทัยเกี่ยวข้องอะไรกับขอม อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้พม่ารุกรานอาณาจักรอยุธยา ทำไมพม่าต้องเผากรุงศรีอยุธยา มีความถามอีกมากมายที่น่าจะตั้งคำถามและนำมาคิดวิเคราะห์หาคำตอบและหาเหตุผล
สมัยเป็นเด็กนักเรียนเราถูกบังคับให้เรียนวิชาประวัติศาสตร์หรือ เมื่อก่อนเรามีความ เห็นว่าเรียนวิชานี้แล้วเอาไปใช้ประโยชน์ในชีวิตก็ไม่ได้เอาไปใช้ทำงานหากินก็ไม่ได้ เรียนไปง่วงไปไม่อยากจดจำวันเดือนปีในประวัติศาสตร์ที่ต้องถูกบังคับให้จำ คุณครูที่สอนก็ไม่ได้สร้างความรู้สึกร่วมให้เราอยากเรียนรู้ เรียนเพื่อจะให้สอบผ่านแค่นั้น เรียนจบแล้วก็จบกันไป ไม่เป็นประเด็นที่จะต้องมาพูดคุยคิดวิเคราะห์อะไรต่อมันช่างสูญเปล่าจริงๆ
แต่คำถามข้างต้นมันมาเกิดขึ้นตอนผมพ้นวัยเรียนไปแล้ว ความรู้สึกชอบจนถึงขั้นที่จะให้ความสนใจและให้เวลาค้นหาข้อมูล, ศึกษาความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์ มันน่าจะเกิดมาจากการได้ฟัง, การได้ดูภาพยนตร์หรือวิดีโอประวัติศาสตร์ และการได้อ่านหนังสือ ทำให้ผมเปลี่ยนมุมมองเรื่องประวัติศาสตร์ไปต่างจากสมัย ที่เป็นเด็กอย่างกับพลิกฝ่ามือ ผมเกิดความอยากรู้อยากติดตาม ที่สำคัญอยากหาเหตุผลอยากวิเคราะห์การกระทำ หรือการตัดสินใจของ พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้น ผมพยายามไปหาซื้อหนังสือมาอ่านหรือไปค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ติดตามฟัง อาจารย์หลายท่านที่ เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์ รู้สึกสนุกเวลาท่านเหล่านี้เล่าเรื่องราว มีโอกาสได้ไปเที่ยวสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น อุทยานประวัติศาสตร์, โบราณสถานและประสาทหินหลายแห่ง
เสียดายที่ตอนเป็นนักเรียนไม่มีความรู้สึกร่วมแบบนี้ ถ้ามีความรู้สึกร่วมคงจะเรียนวิชาประวัติศาสตร์ได้สนุกขึ้น แต่ขอตั้งข้อสังเกตว่าเนื้อหาในวิชาประวัติศาสตร์สมัยเรียน คือการบันทึกเหตุการณ์และให้รายละเอียดเนื้อหาเชิงตื้น เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร เท่านั้น และมีแนวโน้มที่จะชวนเชื่อให้เกิดความรู้สึกของความเป็นชาตินิยมตามนโยบายของของรัฐบาลในขณะนั้น จึงทำให้ไม่แปลกใจว่าตอนนั้นวิชาประวัติศาสตร์น่าเบื่อชวนให้ง่วงนอน เนื้อหาไม่ได้สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความรู้สึกให้อยากเรียนรู้อยากหาเหตุผลหรือวิเคราะห์ต่อ วิชาประวัติศาสตร์อาจเป็นเครื่องมือของผู้ประหาร ประเทศ ในขณะนั้นเพื่อปลูกฝังความคิดแบบชาตินิยมและความมั่นคงของประเทศชาติ หากคิดหาสาเหตุว่าทำไมเนื้อหาของวิชาประวัติศาสตร์จึงเป็นไปในทิศทางนั้น เป็นไปได้ว่าตอนนั้นประเทศไทยเรากำลังต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่จึงต้องสร้างความรู้สึกรักชาติเพื่อให้ประเทศมั่นคงก็เป็นไปได้
ผมอยากเสนอความคิดส่วนตัวว่าวิชา ประวัติศาสตร์ไม่ควรถูกใช้เป็นเครื่องมือใดๆ ควรเป็นเหมือนประตูที่เปิดไว้ให้ค้นหาความจริงต่อไป วิชาประวัติศาสตร์ไม่ควรมีคำตอบหรือสรุปความจริงด้วยตัวเอง เพราะไม่มีใครที่รู้ความจริงด้วยตนเองจริง แม้แต่คนที่เขียนตำราประวัติศาสตร์ ดังนั้นวิชาประวัติศาสตร์จะต้องเป็นวิชาที่ปลายต้องเปิดไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการถกเถียงกันเพราะต้องเข้าใจว่านักประวัติศาสตร์ก็ใช้หลักฐานต่างๆ อย่างเช่นพงศาวดาร หรือบันทึก ซึ่งโดยส่วนใหญ่คนที่บันทึกก็เป็นคนยุคหลังเหตุการณ์ และบันทึกจากคำบอกเล่าของคนอื่นเหมือนกัน ประวัติศาสตร์จึงเป็นเรื่องของการตั้งสมมติฐานของความเป็นไปได้ของการศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ หลายกรณีข้อมูลพวกนี้ก็ขัดแย้งกันเอง แต่มันก็เป็นประเด็นที่น่าท้าทายให้คนที่สนใจประวัติศาสตร์นำไปคิดต่อ
ตัวอย่างของการตั้งคำถามแบบปลายเปิดทางประวัติสาสตร์
ถิ่นที่อยู่เดิมของคนไทยอยู่ที่ไหน มีการถกถียงกันมากและมีหลายสมมติฐาน ยกตัวอย่าง ถิ่นเดิมของคนไทยอยู่ที่อาณาจักรน่านเจ้าทางตอนใต้ของจีนบ้าง บริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโหและลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงทางตอนกลางของจีนบ้าง บริเวณ มณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนบ้าง อยู่ในบริเวณประเทศไทยปัจจุบันนี้เองบ้าง ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่เห็นตรงกันของนักประวัติศาสตร์ ขึ้นอยู่กับความเชื่อและข้อสรุปส่วนตัวของตน
อาณาจักรสุโขทัยอยู่รอดได้เพราะสองกษัตริย์พ่อขุนผาเมืองกับพ่อขุนบางกลางหาวร่วมกันขับไล่ขุนนางขอมออกไป แต่ทำไมพระองค์ไม่ขึ้นเป็นกษัตริย์สุโขทัยต่อจากพ่อขุนศรีนาวนำถุมพระราชบิดา กลับยกเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลางหาวสถาปนาเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน
อาณาจักรสุโขทัยและเมืองสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทยหรือไม่ หรือเป็นเพียงอาณาจักรหนึ่งในสมัยนั้น เช่นเดียวกับอาณาจักรล้านนา, อาณาจักรละโว้หรืออาณาจักรนครศรีธรรมราช นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่เชื่อว่าราชธานีแห่งแรกของไทยคือกรุงศรีอยุธยาไม่ใช่สุโขทัย แต่นักประวัติศาสตร์หลายท่านก็ยังไม่เห็นด้วยยืนยันสุโขทัยเหมือนเดิม
การเกิดขึ้นของอาณาจักรอยุธยามาจากการรวมตัวกันของอาณาจักรละโว้ซึ่งมีราชวงศ์อู่ทองเป็นเจ้ากับอาณาจักรสุพรรณภูมิของราชวงค์สุพรรณภูมิ โดยสร้างความเกี่ยวพันธ์กันทางการอภิเษกสมรสระหว่างเครือญาติของสองราชวงศ์ และรวมกันเป็นอาณาจักรอยุธยา แต่ก็ยังมีข้อสังเกตว่าทั้งสองอาณาจักรก็ไม่ได้มีความแนบแน่นกันมาก่อนแย่งกันเป็นใหญ่มาตลอด ทำไมทั้งสองราชวงศ์จึงยอมประนีประนอมกันในตอนแรก
อะไรเป็นเหตุผลที่แท้จริงที่สมเด็จ พระมหาธรรมราชายอมไปเข้ากับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองใน การสนับสนุนยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา จนกรุงศรีอยุธยาต้องตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ความที่เป็นชาวสยามด้วยกันไม่มีความหมายหรือถึงยอมไปเข้ากับคนต่างเชื่อชาติอย่างพม่า ขัดแย้งกับสมัยที่ทรงยกทัพเข้ามาช่วยกรุงศรีอยุธยารบกับพม่าในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ที่และช่วยรักษากรุงศรีอยุธยาไว้ได้คราวสงครามเสียพระศรีสุริโยทัย
ตัวตนจริงๆของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์เป็นอย่างไร พงสาวดารบันทึกว่าทรงอ่อนแอไม่ใส่ใจใน การรักษาบ้านเมือง แต่พระองค์สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาไว้ได้นานถึงแปดเดือน
คำถามเหล่านี้อาจจะมีคำตอบแล้วจากนักประวัติศาสตร์แต่มันไม่ผิดหรอกที่เราจะเชื่อหรือไม่เชื่อ เพราะวิชาประวัติศาสตร์ไม่ได้ตั้งใจให้เราเชื่อ ทุกอย่างที่อยู่ในตำราหรือในหนังสือ แต่หัวใจของวิชาประวัติศาสตร์คือเปิดโอกาสให้ตั้งข้อสังเกตหรือสงสัยและไม่ผิดที่จะคิดต่าง
ประเด็นที่ผมอยากเสนอคือผู้มีอำนาจหน้าที่ใน การกำหนดการสอน วิชาประวัติศาสตร์ ต้องใจกว้างพอที่จะปฏิรูปวิชาประวัติศาสตร์ให้มีเนื้อหาที่เปิดกว้างและโน้มน้าวให้นักเรียน เกิดความรู้สึกอยากวิเคราะห์ถกเถียง แม้ว่าเนื้อหาเหล่านี้มันอาจจะขัดแย้งกับความรู้สึกชาตินินย เพราะวิชาประวัติสาสตร์ไม่ใช่ เป็นเครื่องมือของใคร วิชาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ของการค้นหาวิเคราะห์เพื่อสร้างความรู้และความเชื่อเฉพาะคนอย่างเป็นอิสระ