โรงเรียนวัดรางเสน่ห์นครจันทร์

หมู่ที่ 3 ตำบลท่าเคย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 70180

Mon - Fri: 9:00 - 17:30

080 251 8955

มือใหม่หัดเขียนเรื่องสั้น

มือใหม่หัดเขียนเรื่องสั้น

การเขียนเรื่องสั้น

การเขียนเรื่องสั้น การเขียนเรื่องสั้น นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่จริงจริงแล้วก็ไม่ได้ยากเกินไปนักนอกจากความสามารถของผู้เขียนที่จะต้อง ถ่ายทอดเรื่องราว ออกมาให้ผู้อ่านเข้าใจและเข้าถึงอารมณ์

ความรู้สึก เรื่องราวที่ต้องการจะสื่อสารออกมาแล้วนั้น ยังต้องควบคุมให้เนื้อเรื่องมีความกระชับ

และอยู่ในกรอบของเนื้อหาอีกด้วย เรามาทำความเข้าใจของเรื่องสั้นแต่ละชนิดกันเถอะ ว่ามีประเภทไหนบ้าง 

 

-เรื่องสั้นชนิดผูกเรื่อง เรื่องสั้นประเภทนี้จะต้องมีความซับซ้อนของเรื่องราว มีปมของตัวละครแต่ละตัว

มีเรื่องราวของเหตุการณ์ที่ผูกเนื้อเรื่องเข้าด้วยกัน ใช้การวางเรื่องให้น่าสนใจ ชวนให้ผู้อ่านอยากที่จะติดตาม

ในตอนจบถ้าสามารถเขียนให้หักมุมเกินความคาดหมายจะยิ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะผู้อ่านจะได้มีความรู้สึกแปลกและประทับใจกับเนื้อเรื่องของเรา

วิธีการเขียนในประเภทนี้ผู้เขียนควรนำเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือแม่กระทั่งข่าว เรื่องราวในท้องถิ่นนำมาเรียงร้อยเข้าด้วยกันให้เกิดเนื้อหาใหม่ชวนอ่าน 

 

-เรื่องสั้นแบบมุ่งเน้นที่ตัวละคร เป็นการเล่าเรื่องราวผ่านตัวละคร ไม่ว่าจะนึกคิด รู้สึกอะไร

ก็จะผ่านตัวละครนั้นๆเป็นการเล่าเรื่องให้ผู้อ่านได้รับรู้ มีการเน้นความสนใจไปที่ตัวละครที่เราต้องการเล่าเรื่องของเขา

ส่วนมากจะเป็นการถ่ายทอดออกมาในเรื่องของความต้องการ ปัญหาที่ตัวละครมี

การตัดสินใจในปัญหาที่เราสร้างหรือเขียนขึ้นมาให้ตัวละครนั้น เพื่อที่จะเขียนเล่าได้ว่าตัวละครคิดอย่างไร

วางแผนเอาชนะอุปสรรคอย่างไร เน้นไปที่ตัวละครอย่างชัดเจน เพื่อที่จะผูกเรื่องราวตั้งแต่ตอนต้นไปจนจบแบบเป็นเนื้อหาของตัวละครเอกที่เราเขียนขึ้นมา

หรือจะเป็นการเขียนในสิ่งที่ตัวละครกระทำและผลที่ตามมาของการกระทำนั้นนั้น

เพื่อให้เห็นว่าหากทำแบบนี้ผลที่จะได้รับจะออกมาแบบไหน เรื่องราวของตัวละครเป็นเรื่องสำคัญในการเขียนประเภทนี้

เพราะหากเขียนได้น่าสนใจนั่นจะสร้างความอยากติดตามของผู้อ่านต่อไป  

 

-เรื่องสั้นที่เน้นสถานที่ การเขียนประเภทนี้จะเจาะจงไปสนใจถึงเรื่องบรรยายฉากเล่าถึงสถานที่ต่างๆ

รวมถึงบรรยากาศ ซึ่งต้องเขียนให้ดูแปลกใหม่และสามารถให้ผู้อ่านเข้าถึงฉากหรือสถานการณ์ที่เราต้องการเขียนถึงได้อย่างเข้าใจ

เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องราวของเนื้อหา เขียนให้เห็นว่าสถานที่นั้นมีผลอย่างไรต่อตัวละคร

อาจจะเป็นสถานที่ที่เคยมีความทรงจำหรือคัวละครเคยมีเรื่องราวเกิดขึ้นในที่นั้นนั้น

และส่งผลมาถึงในปัจจุบันที่ต้องมาพบเจอเรื่องราวนั้นอีกครั้ง หรือตัวละครกลับไปสถานที่ที่เคยมีเรื่องราวทำให้นึกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นอีกครั้ง

เหตุการณ์นั้นอาจมีผลต่อจิตใจของตัวละคร ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สร้างให้ตัวละครมีปมบางอย่างที่น่าติดตาม

สร้างความคิดให้ผู้อ่านเข้าถึงตัวละครได้เรียกว่าทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมไปพร้อมพร้อมกับตัวละครนั้น  

 

-เรื่องสั้นที่เขียนแสดงความคิด เรื่องสั้นประเภทนี้ เป็นเรื่องสั้นที่ผู้เขียนเขียนเพื่อใส่แนวความคิดของตนลงไปในเนื้อนหา

เป็นการแสดงความคิดเห็นแต่ไม่ใช่การวิจารณ์ ส่วนมากมักเขียนในเรื่องของสิ่งที่อยู่ในกระแสเรื่องที่ได้รับความนิยมจากสังคม

ถือเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจเรื่องสั้นประเภทนี้ถึงจะเขียนโดยใส่ความคิดเห็นของผู้เขียนลงไปแต่ควรอยู่ในความเป็นกลาง

ไม่เข้าข้างหรือโอนเอียง ไม่โจมตีสิ่งที่เขียนถึง  

 

การเขียนเรื่องสั้นไม่ได้มีข้อจำกัดในหัวข้อ สามารถเขียนได้ทุกเรื่องไม่ได้มีแค่เรื่องสั้นแบบนิยายเท่านั้น

แต่การเขียนในเชิงให้ความรู้ ให้ความสนใจแข่น เรื่องความเชื่อที่มีความลี้ลับ มีเรื่องราวเล่าขานหรือจะเป็นเรื่องราวที่ให้แง่คิดในเรื่องของความรัก

การเรียน ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ก็สามารถทำได้ ไม่ได้มีข้อจำกัดในเรื่องราวที่ต้องการจะเขียน นอกจากนั้นควรวางสิ่งหลักๆต่อไปนี้ 

-แก่นของเนื้อเรื่อง สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นตัวกำหนดทิศทางของเรื่องราว ว่าเราต้องการออกแบบให้เรื่องราวของเราเป็นแนวไหน ตลก ดราม่า  

 

-ควรมีพล็อตเรื่องเพื่อสามารถเขียนให้อยู่ในเนื้อหา เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสนใจเช่น

การแก้ไขปัญหาให้ตัวละครผ่าอุปสรรคหรือการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง 

 

-วางโครงสร้างของเรื่องให้ชัดเจน ว่าเราต้องการสื่อสารถึงตัวละครตัวไหนเป็นหลัก

เรื่องราวที่จะเล่าเป็นเรื่องของคนไหน วางเรื่องให้ชัดที่สุดเพื่อความเข้าใจของผู้อ่าน

ที่จะได้เข้าใจบทบาทนั้นๆของตัวละคร  

 

-สร้างจุดเด่นของตัวละครแต่ละตัว วิธีการนี้ถือเป็นการทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมไปกับเนื้อหาของเราได้ ถ้าตัวละครมีคาแรคเตอร์ที่ชัดเจน

เป็นคนดี เป็นตัวร้าย เพื่อให้ผู้อ่านอ่านแล้วรู้สึกเข้าถึงอารมณ์ที่เราต้องการจะสื่อถึง 

 

-เล่าเหตุการณ์และใส่สถานที่ให้ชัดเจน ว่าเรื่องราวในแต่ละฉากเกิดขึ้นที่ไหน

เมื่อไหร่เพื่อจะได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเนื้อหา 

 

-ใช้บทพูดให้เป็นประโยชน์ การเขียนโดยใส่บทพูดลงไปด้วยนั้น เรียกว่าช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึง อารมณ์ ความรู้สึก

และช่วยให้เห็นถึงการแสดงออกของตัวละครชัดขึ้น  

 

-อย่าลืมการบรรยายเนื้อเรื่อง เพราะอย่างไรก็ตามการเขียนเรื่องสั้นต้องการคำอธิบายที่กระชับและชัดเจน

หากขาดการบรรยายเนื้อหาอาจทำให้ผู้อ่านไม่เห็นภาพ แต่ควรเขียนในสิ่งที่จำเป็นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาหรือมีเนื้อหาที่ยืดยาวจนเกินไป 

 

-ควรมีปมขัดแย้งในเนื้อเรื่อง ปมขัดแย้งทำให้เรื่องราวน่าสนุกและติดตามแต่ก็ไม่ควรมีปมขัดแย้งที่เยอะจนเกินไปคนมีเพียงปมเดียวหลักๆ

เพื่อเป็นจุดยืนของเรื่องราว ซึ่งสุดท้ายแล้วจะได้สามารถเขียนในตอนจบให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนมากที่สุด 

 

อย่างไรก็ตามควรเขียนแต่เรื่องราวที่จำเป็นมิฉะนั้นจะทำให้มีเนื้อหาที่ยืดยาวจนเกินไป

หากเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และสามารถเขียนเปิดเรื่องด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจน่าติดตามมีความแปลกใหม่ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดี

ให้กับผู้อ่านแล้วยังช่วยให้ผู้อ่านอยากติดตามเนื้อหาในตอนต่อไปอีกด้วย ในการเขียนเรื่องสั้นนั้นควรเน้นไปที่ความคิดเห็นของตัวละครตัวเดียว

แต่นำเสนอให้ชัดเจนเพื่อที่จะมีเวลาในการทำให้ผู้อ่านเข้าอกเข้าใจในตัวละครนั้นนั้นเพราะหากเราหยิบยก

และให้ความสำคัญกับทุกตัวละครรายละเอียดจะค่อนข้างเยอะจะทำให้เราเขียนตอนจบยากขึ้น

และในตอนจบไม่ควรดึงเวลา หากจะเขียนในตอนจบควรแสดงจุดยืนให้ชัด และเคลียร์ปมปัญหาทุกอย่างในเรื่องให้จบลงอย่างคลี่คลาย

ไม่สร้างความสงสัยในตอนจบให้กับผู้อ่าน อาจจะเสริมลงไปด้วยการเขียนแง่คิดและแทรกคำสอน ลงไปในเนื้อหาก็ย่อมทำได้  

 

เขียนโดย ณิชชกา